สำนักพัฒนาตำราและสื่อทางวิชาการ


โครงสร้างและการบริหาร สำนักพัฒนาตำราและสื่อทางวิชาการ

สำนักพัฒนาตำราและสื่อทางวิชาการ เป็นหน่วยงานเสริมศึกษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ซึ่งเริ่มดำเนินการจัดพิมพ์ตำรา ภายใต้ปรัชญาที่ว่า...มุ่งมั่นพัฒนา ผลิตตำราคุณภาพ สรรค์สร้างบริการ มาตฐานสู่สากล
“มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีภารกิจในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในวิชาการด้านต่าง ๆ เพื่อจะได้สำเร็จการศึกษาออกไปพัฒนาสังคมประเทศชาติและตนเอง การที่บัณฑิตจะมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังกล่าวนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอน
การสร้างบรรยากาศทางวิชาการและการเสริมความเข้มแข็งทางด้านวิชาการแก่คณาจารย์จึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่มีส่วนเสริมสร้างคุณภาพของนิสิตการสนับสนุนและส่งเสริมให้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยได้ผลิตงานเขียนทางวิชาการในรูปของหนังสือ ตำราเอกสารประกอบการสอนงานวิจัยจะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย
การจัดตั้งสำนักพัฒนาตำราและสื่อการสอนเพื่อเป็นหน่วยในการผลิตและเผยแพร่จะเป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้เกิดการสร้างงานทางวิชาการในรูปของสิ่งพิมพ์เพิ่มมากขึ้นดังเช่นที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้จัดให้มีสำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัยและดำเนินกิจกรรมอย่างได้ผล”

ปรัชญา

มุ่งมั่นพัฒนา ผลิตตำราคุณภาพ สรรค์สร้างบริการ มาตฐานสู่สากล

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นแหล่งกลางในการรวบรวมสรรหาและเลือกสรรและจัดพิมพ์หนังสือ ตำรา งานแปลและเอกสารที่มีคุณค่าทางวิชาการในระดับอุดมศึกษา
  • เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้มีความตื่นตัวในการสร้างผลงานทางวิชาการ
  • เพื่อส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศทางวิชาการในมหาวิทยาลัยและในสังคม
  • เพื่อส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากหนังสือและเอกสารทางวิชาการด้วยการเผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

  • ภารกิจ

  • ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดพิมพ์เอกสารการสอนสิ่งพิมพ์ หนังสือตำรา และเอกสารทางวิชาการที่ใช้ในมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วประหยัดและมีคุณภาพ ซึ่งจะช่วยให้สิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัยมีคุณภาพดีและราคาถูก
  • ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการโดยการคัดสรรผลงานทางวิชาการที่มีคุณค่า ทั้งประเภทของงานแต่งตำรางานเรียบเรียง งานแปลหรือเอกสารทางวิชาการอื่นๆ ของบุคลากร ทางวิชาการในมหาวิทยาลัย
  • สนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัยในด้านการส่งเสริมวิชาการโดยเฉพาะการผลิตตำราในระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพและราคาถูก
  • เผยแพร่สิ่งพิมพ์และผลงานทางวิชาการประเภทต่างๆ ของมหาวิทยาลัยให้กับนิสิตและผู้สนใจทั่วไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้นอันเป็นการช่วยสร้างภาพลักษณ์ทางวิชาการและชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยอีกทางหนึ่ง
  • ประสานงานและให้บริการแก่หน่วยงานอื่นๆ ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดพิมพ์และเผยแพร่เอกสารทางวิชาการและสิ่งพิมพ์ต่างๆ

  • ระเบียบการจัดพิมพ์

  • หนังสือตำรา หมายถึงหนังสือวิชาการที่มีคุณภาพสูงที่ได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • เอกสารประกอบการสอนหมายถึง หนังสือที่อาจารย์ผู้บรรยาย แต่ง แปลหรือแปลและเรียบเรียงเพื่อประกอบการบรรยายในวิชาที่ตนเองสอนในมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • เอกสารคำสอน หมายถึง เอกสารคำบรรยายหรือสื่ออื่น ๆ ที่ใช้สอนในรายวิชาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ที่มีเนื้อหาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ และมีความสมบูรณ์กว่าเอกสารการสอน
  • หนังสือวิชาศึกษาทั่วไป หมายถึง หนังสือที่ใช้ประกอบการบรรยายพื้นฐานทั่วไปตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • หนังสืออ่านประกอบ หมายถึง ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น อาทิ รวมบทความทางวิชาการงานวิจัย เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีความสำคัญและทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการหรือเสริมสร้างองค์ความรู้ในสาขาวิชานั้นๆ
  • หนังสือทั่วไป หมายถึง หนังสือที่ให้ความรู้และสาระทั่วไป ซึ่งมีประโยชน์แก่นักศึกษาและประชาชนและหนังสืออื่นๆนอกจากที่ระบุไว้

  • ขั้นตอนในการจัดพิมพ์หนังสือ

  • รวบรวมต้นฉบับตำรา
  • พิจารณาต้นฉบับโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • บรรณาธิการพิจารณาต้นฉบับโดยละเอียด
  • ฝ่ายจัดทำต้นฉบับทำต้นฉบับและจัดรูปเล่มและแบบปก
  • ติดต่อโรงพิมพ์ส่งต้นฉบับจัดพิมพ์
  • สำนักพัฒนาตำราและสื่อทางวิชาการ


    โครงสร้างและการบริหาร สำนักพัฒนาตำราและสื่อทางวิชาการ

    สำนักพัฒนาตำราและสื่อทางวิชาการ เป็นหน่วยงานเสริมศึกษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ซึ่งเริ่มดำเนินการจัดพิมพ์ตำรา ภายใต้ปรัชญาที่ว่า...มุ่งมั่นพัฒนา ผลิตตำราคุณภาพ สรรค์สร้างบริการ มาตฐานสู่สากล
    “มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีภารกิจในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในวิชาการด้านต่าง ๆ เพื่อจะได้สำเร็จการศึกษาออกไปพัฒนาสังคมประเทศชาติและตนเอง การที่บัณฑิตจะมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังกล่าวนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอน
    การสร้างบรรยากาศทางวิชาการและการเสริมความเข้มแข็งทางด้านวิชาการแก่คณาจารย์จึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่มีส่วนเสริมสร้างคุณภาพของนิสิตการสนับสนุนและส่งเสริมให้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยได้ผลิตงานเขียนทางวิชาการในรูปของหนังสือ ตำราเอกสารประกอบการสอนงานวิจัยจะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย
    การจัดตั้งสำนักพัฒนาตำราและสื่อการสอนเพื่อเป็นหน่วยในการผลิตและเผยแพร่จะเป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้เกิดการสร้างงานทางวิชาการในรูปของสิ่งพิมพ์เพิ่มมากขึ้นดังเช่นที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้จัดให้มีสำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัยและดำเนินกิจกรรมอย่างได้ผล”

    ปรัชญา

    มุ่งมั่นพัฒนา ผลิตตำราคุณภาพ สรรค์สร้างบริการ มาตฐานสู่สากล

    วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นแหล่งกลางในการรวบรวมสรรหาและเลือกสรรและจัดพิมพ์หนังสือ ตำรา งานแปลและเอกสารที่มีคุณค่าทางวิชาการในระดับอุดมศึกษา
  • เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้มีความตื่นตัวในการสร้างผลงานทางวิชาการ
  • เพื่อส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศทางวิชาการในมหาวิทยาลัยและในสังคม
  • เพื่อส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากหนังสือและเอกสารทางวิชาการด้วยการเผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

  • ภารกิจ

  • ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดพิมพ์เอกสารการสอนสิ่งพิมพ์ หนังสือตำรา และเอกสารทางวิชาการที่ใช้ในมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วประหยัดและมีคุณภาพ ซึ่งจะช่วยให้สิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัยมีคุณภาพดีและราคาถูก
  • ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการโดยการคัดสรรผลงานทางวิชาการที่มีคุณค่า ทั้งประเภทของงานแต่งตำรางานเรียบเรียง งานแปลหรือเอกสารทางวิชาการอื่นๆ ของบุคลากร ทางวิชาการในมหาวิทยาลัย
  • สนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัยในด้านการส่งเสริมวิชาการโดยเฉพาะการผลิตตำราในระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพและราคาถูก
  • เผยแพร่สิ่งพิมพ์และผลงานทางวิชาการประเภทต่างๆ ของมหาวิทยาลัยให้กับนิสิตและผู้สนใจทั่วไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้นอันเป็นการช่วยสร้างภาพลักษณ์ทางวิชาการและชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยอีกทางหนึ่ง
  • ประสานงานและให้บริการแก่หน่วยงานอื่นๆ ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดพิมพ์และเผยแพร่เอกสารทางวิชาการและสิ่งพิมพ์ต่างๆ

  • ระเบียบการจัดพิมพ์

  • หนังสือตำรา หมายถึงหนังสือวิชาการที่มีคุณภาพสูงที่ได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • เอกสารประกอบการสอนหมายถึง หนังสือที่อาจารย์ผู้บรรยาย แต่ง แปลหรือแปลและเรียบเรียงเพื่อประกอบการบรรยายในวิชาที่ตนเองสอนในมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • เอกสารคำสอน หมายถึง เอกสารคำบรรยายหรือสื่ออื่น ๆ ที่ใช้สอนในรายวิชาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ที่มีเนื้อหาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ และมีความสมบูรณ์กว่าเอกสารการสอน
  • หนังสือวิชาศึกษาทั่วไป หมายถึง หนังสือที่ใช้ประกอบการบรรยายพื้นฐานทั่วไปตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • หนังสืออ่านประกอบ หมายถึง ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น อาทิ รวมบทความทางวิชาการงานวิจัย เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีความสำคัญและทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการหรือเสริมสร้างองค์ความรู้ในสาขาวิชานั้นๆ
  • หนังสือทั่วไป หมายถึง หนังสือที่ให้ความรู้และสาระทั่วไป ซึ่งมีประโยชน์แก่นักศึกษาและประชาชนและหนังสืออื่นๆนอกจากที่ระบุไว้

  • ขั้นตอนในการจัดพิมพ์หนังสือ

  • รวบรวมต้นฉบับตำรา
  • พิจารณาต้นฉบับโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • บรรณาธิการพิจารณาต้นฉบับโดยละเอียด
  • ฝ่ายจัดทำต้นฉบับทำต้นฉบับและจัดรูปเล่มและแบบปก
  • ติดต่อโรงพิมพ์ส่งต้นฉบับจัดพิมพ์
  • © 2018 มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี Bangkokthonburi University (BTU)