สำนักแผนและประกันคุณภาพ


ประวัติความเป็นมา

สำนักแผนและประกันคุณภาพ เดิมทีเป็นสำนักประกันคุณภาพการศึกษา และสำนักนโยบายและแผน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2551 ได้ตั้งเป็นสำนักแผนและประกันคุณภาพตามโครงสร้างของมหาวิทยาลัย เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย โดยเป็นสำนักประสานงานกลางในการดำเนินการด้านแผนและการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ ซึ่งเน้นในเรื่องคุณภาพการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
  • นักศึกษาสำเร็จการศึกษาตามเวลาที่กำหนด
  • คุณภาพของนักศึกษาเป็นไปตามเกณฑ์
  • ผลงานของนักศึกษาได้รับการยอมรับจากสังคม
  • สังคมได้รับประโยชน์จากโครงการต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้น
  • ชุมชนสามารถร่วมตรวจสอบการเรียนการสอน
  • ประการสำคัญมหาวิทยาลัยเล็งเห็นความจำเป็นในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาโดยมีเหตุผลสำคัญ คือ
  • เพื่อเป็นการประกันให้สังคมเกิดความมั่นใจว่า การจัดการศึกษาในระดับต่างๆ ของมหาวิทยาลัย จะเป็นไปอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาโดยรวมของสถาบันอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อให้คุณภาพของการจัดการศึกษาและคุณภาพของบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสามารถแข่งขันได้กับสถาบันอุดมศึกษาอื่น และเป็นที่ชื่นชมของสังคม
  • ปรัชญา (Philosophy)

    “ส่งเสริมวิชาการ ประสานงานด้วยใจ พร้อมให้บริการ ด้วยมาตรฐานและพัฒนาคุณภาพการศึกษา”

    วิสัยทัศน์ (Vision)

    สำนักแผนและประกันคุณภาพ ส่งเสริมให้มีระบบการประกันคุณภาพที่เหมาะสมกับพันธกิจ มีโครงการ/กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพทั้งกับหน่วยงานภายในและภายนอก เพื่อการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ

    พันธกิจ (Mission)

  • ประสานความร่วมมือและส่งเสริมให้มีการนำนโยบาย ตลอดจนมีการนำแผนดำเนินงานด้านคุณภาพของมหาวิทยาลัยไปสู่การปฏิบัติด้วยการสื่อสาร สร้างความเข้าใจ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมทั่วทั้งมหาวิทยาลัย รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านคุณภาพแก่ผู้ที่ต้องการ
  • เสริมสร้างและพัฒนาระบบและกลไกประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยให้ทันสมัย ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสมัยใหม่ ส่งเสริมให้มีระบบการประกันคุณภาพที่เหมาะสมกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย
  • พัฒนาพันธมิตร และบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีความรู้และทักษะด้านประกันคุณภาพ
  • เป็นหน่วยงานให้บริการข้อมูล และเอกสารด้านการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย
  • พัฒนาบุคลากรด้านศักยภาพตามสายงาน
  • พัฒนาบุคลากรให้มีคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี

  • เป้าประสงค์ (Goals)

  • เพื่อให้มีการนำนโยบาย แผนงานด้านคุณภาพของมหาวิทยาลัยไปสู่การปฏิบัติ มีการสร้างความเข้าใจผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมทั่วทั้งองค์กร มีการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านคุณภาพ
  • มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพที่ทันสมัยด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสมัยใหม่
  • มีระบบการประกันคุณภาพที่เหมาะสมกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย
  • มีพันธมิตรและบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่มีความรู้และทักษะด้านประกันคุณภาพการศึกษา
  • มีบุคลากรที่มีศักยภาพตามสายงาน
  • มีศูนย์กลางข้อมูลด้านการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย
  • มีบุคลากรที่มีคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี
  • มีเทคโนโลยีในการดำเนินงานที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

  • สำนักแผนและประกันคุณภาพ มีภาระงานและความรับผิดชอบ

  • พัฒนาเกณฑ์และเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับที่ สกอ. และ สมศ.กำหนด
  • ประชาสัมพันธ์ ประสานงานร่วมมือและส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัยจัดทำประกันคุณภาพภายในโดยจัด SSR และ SAR
  • เสนอรายชื่อบุคลากรของมหาวิทยาลัย เพื่อแต่งตั้งเป็นกลุ่มงานกรรมการฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน
  • จัดอบรมให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยในการจัดทำประกันคุณภาพภายในมหาวิทยาลัย
  • รวบรวมเอกสารข้อมูลต่าง ๆ จากหน่วยงานของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ เพื่อเสนอต่อกลุ่มงานกรรมการประเมินคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัย
  • ทำการประเมินคุณภาพภายในและเสนอข้อคิดเห็นเสนอแนะต่อผู้บริหารตามลำดับชั้น
  • ประสานงานกับ สกอ. และ สมศ.กำหนดประเมินภายในและภายนอก เพื่อรับการรับรองมาตรฐานการศึกษา
  • รวบรวมเอกสารข้อมูลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อความพร้อมในการรับการประเมินจาก สกอ.และ สมศ.กำหนด
  • เสนอโครงการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามลำดับชั้น
  • รายงานการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามลำดับชั้น
  • ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บริหารมอบหมาย

  • สภาพทางกายภาพ

  • สำนักแผนและประกันคุณภาพ มีผู้อำนวยการ 1 คน มีเจ้าหน้าที่จำนวน 6 คน
  • สำนักแผนและประกันคุณภาพ


    ประวัติความเป็นมา

    สำนักแผนและประกันคุณภาพ เดิมทีเป็นสำนักประกันคุณภาพการศึกษา และสำนักนโยบายและแผน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2551 ได้ตั้งเป็นสำนักแผนและประกันคุณภาพตามโครงสร้างของมหาวิทยาลัย เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย โดยเป็นสำนักประสานงานกลางในการดำเนินการด้านแผนและการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ ซึ่งเน้นในเรื่องคุณภาพการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
  • นักศึกษาสำเร็จการศึกษาตามเวลาที่กำหนด
  • คุณภาพของนักศึกษาเป็นไปตามเกณฑ์
  • ผลงานของนักศึกษาได้รับการยอมรับจากสังคม
  • สังคมได้รับประโยชน์จากโครงการต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้น
  • ชุมชนสามารถร่วมตรวจสอบการเรียนการสอน
  • ประการสำคัญมหาวิทยาลัยเล็งเห็นความจำเป็นในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาโดยมีเหตุผลสำคัญ คือ
  • เพื่อเป็นการประกันให้สังคมเกิดความมั่นใจว่า การจัดการศึกษาในระดับต่างๆ ของมหาวิทยาลัย จะเป็นไปอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาโดยรวมของสถาบันอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อให้คุณภาพของการจัดการศึกษาและคุณภาพของบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสามารถแข่งขันได้กับสถาบันอุดมศึกษาอื่น และเป็นที่ชื่นชมของสังคม
  • ปรัชญา (Philosophy)

    “ส่งเสริมวิชาการ ประสานงานด้วยใจ พร้อมให้บริการ ด้วยมาตรฐานและพัฒนาคุณภาพการศึกษา”

    วิสัยทัศน์ (Vision)

    สำนักแผนและประกันคุณภาพ ส่งเสริมให้มีระบบการประกันคุณภาพที่เหมาะสมกับพันธกิจ มีโครงการ/กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพทั้งกับหน่วยงานภายในและภายนอก เพื่อการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ

    พันธกิจ (Mission)

  • ประสานความร่วมมือและส่งเสริมให้มีการนำนโยบาย ตลอดจนมีการนำแผนดำเนินงานด้านคุณภาพของมหาวิทยาลัยไปสู่การปฏิบัติด้วยการสื่อสาร สร้างความเข้าใจ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมทั่วทั้งมหาวิทยาลัย รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านคุณภาพแก่ผู้ที่ต้องการ
  • เสริมสร้างและพัฒนาระบบและกลไกประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยให้ทันสมัย ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสมัยใหม่ ส่งเสริมให้มีระบบการประกันคุณภาพที่เหมาะสมกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย
  • พัฒนาพันธมิตร และบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีความรู้และทักษะด้านประกันคุณภาพ
  • เป็นหน่วยงานให้บริการข้อมูล และเอกสารด้านการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย
  • พัฒนาบุคลากรด้านศักยภาพตามสายงาน
  • พัฒนาบุคลากรให้มีคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี

  • เป้าประสงค์ (Goals)

  • เพื่อให้มีการนำนโยบาย แผนงานด้านคุณภาพของมหาวิทยาลัยไปสู่การปฏิบัติ มีการสร้างความเข้าใจผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมทั่วทั้งองค์กร มีการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านคุณภาพ
  • มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพที่ทันสมัยด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสมัยใหม่
  • มีระบบการประกันคุณภาพที่เหมาะสมกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย
  • มีพันธมิตรและบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่มีความรู้และทักษะด้านประกันคุณภาพการศึกษา
  • มีบุคลากรที่มีศักยภาพตามสายงาน
  • มีศูนย์กลางข้อมูลด้านการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย
  • มีบุคลากรที่มีคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี
  • มีเทคโนโลยีในการดำเนินงานที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

  • สำนักแผนและประกันคุณภาพ มีภาระงานและความรับผิดชอบ

  • พัฒนาเกณฑ์และเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับที่ สกอ. และ สมศ.กำหนด
  • ประชาสัมพันธ์ ประสานงานร่วมมือและส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัยจัดทำประกันคุณภาพภายในโดยจัด SSR และ SAR
  • เสนอรายชื่อบุคลากรของมหาวิทยาลัย เพื่อแต่งตั้งเป็นกลุ่มงานกรรมการฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน
  • จัดอบรมให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยในการจัดทำประกันคุณภาพภายในมหาวิทยาลัย
  • รวบรวมเอกสารข้อมูลต่าง ๆ จากหน่วยงานของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ เพื่อเสนอต่อกลุ่มงานกรรมการประเมินคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัย
  • ทำการประเมินคุณภาพภายในและเสนอข้อคิดเห็นเสนอแนะต่อผู้บริหารตามลำดับชั้น
  • ประสานงานกับ สกอ. และ สมศ.กำหนดประเมินภายในและภายนอก เพื่อรับการรับรองมาตรฐานการศึกษา
  • รวบรวมเอกสารข้อมูลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อความพร้อมในการรับการประเมินจาก สกอ.และ สมศ.กำหนด
  • เสนอโครงการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามลำดับชั้น
  • รายงานการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามลำดับชั้น
  • ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บริหารมอบหมาย

  • สภาพทางกายภาพ

  • สำนักแผนและประกันคุณภาพ มีผู้อำนวยการ 1 คน มีเจ้าหน้าที่จำนวน 6 คน
  • © 2018 มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี Bangkokthonburi University (BTU)